หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่คัลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับ กรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี หิน ปูน เป็นหินที่มีองค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 50 เป็นแร่แคลไซต์ หินปูนที่ใช้ใน การผลิตปูนซีเมนต์จะต้องมีแคลเซียมออกไซด์ 50% ขึ้นไป แมกนีเซียม ออกไซด์ (จากแร่โดโลไมต์) ไม่เกิน 3% ซิลิกาไม่เกิน 8% และปริมาณแอลคา ไลรวม (Na2O+K2O) ไม่เกิน 1% (Manning, 1992) การกำเนิด ส่วนใหญ่ หินปูนเกิดจากการสะสมตัวของเศษเปลือกแข็งที่สิ่งมีชีวิตใน ทะเล เช่น ปะการัง สาหร่าย หอย สัตว์และพืชน้ำ อื่นๆสร้างขึ้นในกระบวนการ เพื่อการดำรงชีพบริเวณที่มีการสะสมตัวของหินปูนได้ดีคือทะเลน้ำตื้นในเขต ร้อนหินปูน อีกส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการอนินทรียเคมีที่ไม่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการของสิ่งมีชีวิตเลยเช่นการตกตะกอนของ โคลน คาร์บอเนต บาง ชนิด ส่วนหินปูนที่มีกำเนิดบนพื้นทวีป เช่น ในทะเลสาบ หรือที่เกิดเป็นหิน งอก-หินย้อย คราบหินปูน (tufa) และทราเวอร์ทีน (travertine) นั้น จะมี ปริมาณน้อยกว่ามาก แหล่งในประเทศ ประเทศไทยมีหินปูนแพร่กระจายกว้างขวางในเกือบทุกภาคเว้นแต่พื้นที่ส่วนใหญ่ ของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่รองรับด้วยหินตะกอนสีแดงหิน ปูนที่มีการนำมาใช้ผลิต ปูนซีเมนต ์สามารถจะแบ่งเป็นช่วงอายุ ทางธรณีกาล ออกได้เป็น 3 ช่วงกว้าง ๆ คือ 1) ยุคออร์โดวิเชียน มีแพร่กระจายกว้างขวางทางเทือกเขาด้านตะวันตกของ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัดสตูล ตรัง นครศรีธรรมราช และบริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งหินปูนยุคนี้ โรงงานปูนซีเมนต์ในจังหวัดนครศรี ธรรมราชใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับทางภาคเหนือนั้น พบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ยุคเพอร์เมียน ซึ่งเป็นช่วงที่มีหินปูนสะสมตัวต่อเนื่องมากจากยุคคาร์บอ นิเฟอรัสตอนปลาย และเกิดเป็นชั้นหนาหลายช่วง มีการแพร่กระจายกว้างขวางมาก ที่สุดในประเทศ โรงงานปูนซีเมนต์ในเขตจังหวัด สระบุรี นครสวรรค์และ เพชรบุรี (รูปที่ 12.8) ใช้หินปูนยุคนี้เป็นวัตถุดิบ 3) ยุคไทรแอสซิก มีการแพร่กระจายที่จำกัดอยู่ในจังหวัดภาคเหนือบริเวณ จังหวัดลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน เป็นหินปูนที่โรงงานปูนซีเมนต์ที่จังหวัด ลำปางใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ ส่วนหินปูนของยุคอื่น ๆ ยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาใช้ทำปูนซีเมนต์ แม้ว่าจะมี องค์ประกอบเหมาะสม ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาประกอบ เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์มีการใช้หินปูนจำนวนมาก ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะ ต้องคำนึงถึงคือ ความสม่ำเสมอขององค์ประกอบหรือมีความแปรปรวนขององค์ประกอบ น้อย ทำให้สามารถปรับส่วนผสมเพื่อควบคุมคุณภาพได้โดยสะดวก นอกจากนี้ หินปูน แหล่งที่ใช้จะต้องมีปริมาณหินสำรองเพียงพอสำหรับป้อนโรงงานซึ่งมักมีช่วง อายุดำเนินงาน 20-25 ปีด้วย (Utha-aroon and Utha-aroon, 1998) | ||
| แผนที่แสดงกลุ่มแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์และก่อสร้าง ที่มา **http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99 **http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=601&filename=mineral |
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
หินที่สนใจ ---->>>หินปูน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น