วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หินที่สนใจ ---->>>หินปูน

หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า
แร่คัลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับ กรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี

หิน ปูน เป็นหินที่มีองค์ประกอบมากกว่าร้อยละ 50 เป็นแร่แคลไซต์ หินปูนที่ใช้ใน การผลิตปูนซีเมนต์จะต้องมีแคลเซียมออกไซด์ 50% ขึ้นไป แมกนีเซียม ออกไซด์ (จากแร่โดโลไมต์) ไม่เกิน 3% ซิลิกาไม่เกิน 8% และปริมาณแอลคา ไลรวม (Na2O+K2O) ไม่เกิน 1% (Manning, 1992) การกำเนิด ส่วนใหญ่ หินปูนเกิดจากการสะสมตัวของเศษเปลือกแข็งที่สิ่งมีชีวิตใน ทะเล เช่น ปะการัง สาหร่าย หอย สัตว์และพืชน้ำ อื่นๆสร้างขึ้นในกระบวนการ เพื่อการดำรงชีพบริเวณที่มีการสะสมตัวของหินปูนได้ดีคือทะเลน้ำตื้นในเขต ร้อนหินปูน อีกส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการอนินทรียเคมีที่ไม่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการของสิ่งมีชีวิตเลยเช่นการตกตะกอนของ โคลน คาร์บอเนต บาง ชนิด ส่วนหินปูนที่มีกำเนิดบนพื้นทวีป เช่น ในทะเลสาบ หรือที่เกิดเป็นหิน งอก-หินย้อย คราบหินปูน (tufa) และทราเวอร์ทีน (travertine) นั้น จะมี ปริมาณน้อยกว่ามาก แหล่งในประเทศ ประเทศไทยมีหินปูนแพร่กระจายกว้างขวางในเกือบทุกภาคเว้นแต่พื้นที่ส่วนใหญ่ ของภาค ตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่รองรับด้วยหินตะกอนสีแดงหิน ปูนที่มีการนำมาใช้ผลิต ปูนซีเมนต ์สามารถจะแบ่งเป็นช่วงอายุ ทางธรณีกาล ออกได้เป็น 3 ช่วงกว้าง ๆ คือ 1) ยุคออร์โดวิเชียน มีแพร่กระจายกว้างขวางทางเทือกเขาด้านตะวันตกของ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณจังหวัดสตูล ตรัง นครศรีธรรมราช และบริเวณ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งหินปูนยุคนี้ โรงงานปูนซีเมนต์ในจังหวัดนครศรี ธรรมราชใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับทางภาคเหนือนั้น พบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ยุคเพอร์เมียน ซึ่งเป็นช่วงที่มีหินปูนสะสมตัวต่อเนื่องมากจากยุคคาร์บอ นิเฟอรัสตอนปลาย และเกิดเป็นชั้นหนาหลายช่วง มีการแพร่กระจายกว้างขวางมาก ที่สุดในประเทศ โรงงานปูนซีเมนต์ในเขตจังหวัด สระบุรี นครสวรรค์และ เพชรบุรี (รูปที่ 12.8) ใช้หินปูนยุคนี้เป็นวัตถุดิบ 3) ยุคไทรแอสซิก มีการแพร่กระจายที่จำกัดอยู่ในจังหวัดภาคเหนือบริเวณ จังหวัดลำปาง เชียงราย แพร่ น่าน เป็นหินปูนที่โรงงานปูนซีเมนต์ที่จังหวัด ลำปางใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์ ส่วนหินปูนของยุคอื่น ๆ ยังไม่ปรากฏว่ามีการนำมาใช้ทำปูนซีเมนต์ แม้ว่าจะมี องค์ประกอบเหมาะสม ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาประกอบ เนื่องจากการผลิตปูนซีเมนต์มีการใช้หินปูนจำนวนมาก ดังนั้น สิ่งสำคัญที่จะ ต้องคำนึงถึงคือ ความสม่ำเสมอขององค์ประกอบหรือมีความแปรปรวนขององค์ประกอบ น้อย ทำให้สามารถปรับส่วนผสมเพื่อควบคุมคุณภาพได้โดยสะดวก นอกจากนี้ หินปูน แหล่งที่ใช้จะต้องมีปริมาณหินสำรองเพียงพอสำหรับป้อนโรงงานซึ่งมักมีช่วง อายุดำเนินงาน 20-25 ปีด้วย (Utha-aroon and Utha-aroon, 1998)

แผนที่แสดงกลุ่มแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมซีเมนต์และก่อสร้าง
ที่มา
**http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%99
**http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=601&filename=mineral

Taylor's Chart






ที่มา http://books.google.co.th/

ข้อมูลหลุมเจาะโครงการก่อสร้างปรับปรุงอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา





ผลการวิเคราะห์ความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกของชั้นดิน

จาก ผลการทดสอบตัวอย่างดินในบริเวณหลุมเจาะทั้ง 2 ทั้งในสนามและห้องปฏิบัติการสามารถวิเคราะห์ความสามารถในการรับน้ำหนัก บรรทุกของชั้นดิน โดยคำนึกถึงเสถียรภาพในแรงการรับน้ำหนักและเสถียรภาพในการทรุดตัว พบว่าในระดับความลึกที่ 1.50-2.00 เมตร จากผิวดินชั้นดินสามารถรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยได้ 10 ตันต่อตารางเมตร โดยมีค่าความปลอดภัยเท่ากับ3

การวิบัติแบบต่างๆ

(1) การวิบัติที่ผิวความลาด (Face Failure)



(1.1) สาเหตุ : การวิบัติที่ผิดความลาดเกิดจาก
- ผิววัสดุเกิดการพังทลาย
- วัสดุเองเนื่องจากSlope มากเกินไป
- มักเป็นพวก Granular Soil




(1.2) การแก้ไข
- ลดความลาดให้น้อยลง


(2) การวิบัติปลายฐานล่าง (Toe Face) คือการพังทลายตรงส่วนที่ปลายฐานด้านล่างของความ
ลาดตลิ่ง





(2.1) สาเหตุ : การวิบัติปลายฐานล่างเกิดจาก
- ดินผิวบนเป็นดินอ่อนและส่วนล่างแข็ง
- เกิดกับพวกดินเหนียว (Cohesive Soil)
- เป็นดินที่มีค่ากําลังรับแรงเฉือน (Shear Stergth) ตํ่า




(2.2) การแก้ไข
- ลด Surcharge load ที่ผิวบนออก
- ทําเป็นขั้นบันได
- เปลี่ยนวัสดุดินถมใหม่เป็นพวกทรายเพื่อต้องการให้นํ้าระบายได้สะดวก



(3) การวิบัติที่ฐานชั้นดินล่างของความลาด(Base Failure) คือการพังทลายที่ ดินใต้ความลาด
ของตลิ่ง




(3.1) สาเหตุ : การวิบัติที่ฐานชั้นดินล่างของความลาดเกิดจากดินชั้นบนมีความแข็งกว่าดิน
ด้านล่างซึ่งเป็นดินที่อ่อนกว่าแล้วเกิดการพังทลายเนื่องจากค่ากําลังรับแรงเฉือนตํ่า





(3.2) การแก้ไข
- เพิ่มค่ากําลังรับแรงเฉือน (Shear Stroagth) ในดินเช่นโดยการตอกเสาเข็มมารับ
แรงเฉือน




- ลด Suchange Load หมายถึงลดดินถมบนตลิ่งออกเพื่อให้เกิดแรงกดน้อยลง

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

CEN370_amphol_mongkol_503297

โจทย์(เดี่ยว)
*จุดLANDMARK
*วิศวกรที่ชอบ
*ความหมายของคำว่า"GEOLOGY"
*ทำไมถึงเลือกเรียนวิชานี้
โจทย์(กลุ่ม)
*หาslope 4จุด

*หาทำเลโรงโม้หิน
-------------------------------------------------------------


picasa

-------------------------------------------------------------

***งานหินที่น่าสนใจ***


ปราสาทหินบ้านพลวง


อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ครับ
เป็นปราสาทหินที่สร้างด้วยหินทรายสีขาว
เทคนิคการเรียงหินและลักษณะทางสถาปัตยกรรมได้รับการวิเคราะห์จากนักประวัติศาสตร์ศิลปะและสถาปนิกว่า..
ตรงกับรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบขอมหรือเขมรโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 หรือราว 900 ปีมาแล้ว
จัดเป็นปราสาทหินที่มีความสวยงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย




------------------------------------------------------


*****จุดLANDMARK*****

onemores.hi5.com
------------------------------------------------------

ความหมายของ GEOLOGY




ธรณีวิทยา เป็น
วิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับโลก สสารต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของโลก เช่น แร่ หิน ดินและน้ำ รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงภายในโลก ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ ตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน เป็นการศึกษาทั้งในระดับโครงสร้าง ส่วนประกอบทางกายภาพ เคมี และชีววิทยา ทำให้รู้ถึงประวัติความเป็นมา และสภาวะแวดล้อมในอดีตจนถึงปัจจุบัน ศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอกที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นผิว วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตลอดจนรูปแบบ และวิธีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ มาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอีกด้วย







นายทวี บุตรสุนทร


วัน เดือน ปีเกิด วันที่ 19 มีนาคม 2482
สถานภาพสมรส ภรรยาชื่อ นางรัตนา บุตรสุนทร บุตรธิดา 3 คน
ที่อยู่ 276 หมู่บ้านปัญญา ซอย 34 ถนนพัฒนาการ 30 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
ประวัติการศึกษา
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 1) สาขาเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2502)
ประกาศนียบัตรวิชาการจัดการ (The Dynamic Management for International Executives) มหาวิทยาลัย Syracuse สหรัฐอเมริกา (2516)
ประกาศนียบัตรวิชาการจัดการเกี่ยวกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จากสถาบัน INSEAD ประเทศฝรั่งเศส (2522)

ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาการจัดการ (The Chief Executive Program) จาก Irish Management Institute ประเทศไอร์แลนด์ (2523)
ประกาศนียบัตรวิชาการจัดการด้านบริหารการผลิต (The Management in Corporate Strategy) จาก Harvard University, Graduate School of Business Administration สหรัฐอเมริกา (2525)
ประกาศนียบัตรชั้นสูงวิชาการจัดการ (AMP-The Advanced Management Program) จาก Harvard University, Graduate School of Business Administration สหรัฐอเมริกา (2529)
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (2529)
หลักสูตรการป้องกันราชการอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.3) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (2535)
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2538)
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา (2541)
ประวัติการทำงาน
พ.ค. 2503–ก.ย. 2505 อาจารย์โท คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต.ค. 2505–ธ.ค. 2512 วิศวกรผลิต โรงงานปูนซิเมนต์ ท่าหลวง บจก. ปูนซิเมนต์ไทย
ม.ค. 2513–ต.ค. 2515 วิศวกรงานแผน โครงการขยายกำลังการผลิต โรงงานปูนซิเมนต์แก่งคอย บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด

พ.ย. 2515–มี.ค. 2520 ผู้อำนวยการกิจการวัสดุทนไฟ
ก.ค. 2519–ก.ย. 2521 ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมของเครือซิเมนต์ไทย
ต.ค. 2521–มี.ค. 2523 ผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามคราฟท์ จำกัด
เม.ย. 2523–ม.ค. 2527 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบงานสายซิเมนต์และวัสดุทนไฟ
พ.ค. 2526–มิ.ย. 2530 ประธานคณะกรรมการสรรหาและพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของเครือซิเมนต์ไทย
ก.พ. 2527–มิ.ย. 2535 ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด
ก.ค. 2530–ธ.ค. 2531 ประธานคณะกรรมการสรรหาและพัฒนาบุคลากรด้านวิชาชีพของเครือซิเมนต์ไทย
พ.ค. 2531–เม.ย. 2541 ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาเทคโนโลยี ก.ค. 2535–มี.ค. 2542 รองผู้จัดการใหญ่ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) เม.ย. 2542–ปัจจุบัน ที่ปรึกษา บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

********เหตุผลที่ชอบ.....*********
เพราะท่านทรงเป็นผู้พัฒนาให้บริษัท "ปูนซีเมนต์ไทย" มีความก้าวหน้ามากขึ้น ประกอบกับท่านยังสร้างรายได้ให้กับบริษัทได้ใน จำนวนหนึ่งซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านๆมา โดยท่านทรงวางแผนการดำเนินงานแบบ Critical Path Method ที่เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายให้ลดลง ด้วยความสามารถและประสบการณ์ของคุณทวีในบริษัทปูนซิเมนต์ไทยได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ รับผิดชอบด้านการผลิตและวิศวกรรมทั้งหมด นอกจากนี้ต้องดูแลการขยายงานโครงการต่างๆ นอกเหนือจากงานด้านการตลาดและการค้าต่างประเทศ คุณทวีจึงนับเป็นวิศวกรผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์แห่งวิชาชีพวิศวกรรมอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันก็ยังมุ่งมั่นแสวงหาเทคโนโลยีที่ทันสมัย เข้ามาพัฒนาวิศวกรรมและอุตสาหกรรมไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศอยู่ตลอดเวลา ด้วยเหตุผลประการนี้จึงทำให้ข้าพเข้ามีความชื่นชอบท่าน เพราะท่านทำประโยชน์ให้แก่สังคมมากกว่าประโยชน์ของตนเอง ประกอบกับท่านได้นำความรู้ที่ได้มาจากการเรียนรู้ของท่านม
าใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้ข้าพเจ้าอยากท่านมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

---------------------------------------------------------

ทำไมถึงเลือกเรียนวิชานี้

เหตุผลแรก ถ้าผมไม่เรียนวิชานี้ผมก็จะเรียนไม่จบอย่างแน่นอน

เหตุผลที่2 ผมคาดหวังกับวิชานี้มากเพราะเป็นวิชาที่สามารถนำไปใช้กับชีวิดประจำวันได้

เหตุผลที่3 ถ้าเรียนวิศวะไม่รู้เรื่อง ดิน หิน ทราย และสภาพพื้นที่ต่างๆก็คงจะเป็นวิศกรที่ดีได้

เหตุผลที่4 อยากเรียนให้เข้าใจไม่ใช่เรียนไปแล้วลืม

เหตุผลสุดท้าย จะได้ไปดูงานนอกสถานที่ด้วย

--------------------------------------------

หา slope จากแผ่นที่และหาอัตราส่วนเส้นความชัน


แผนที่ อ.ปากช่อง



มาตราส่วน 1:50000
ช่วงต่างเส้นชั้นความสูง 20 m.

ประโยชน์ที่ได้จากการดูแผนที่ภูมิศาสตร์

1. ทำให้รู้ความชัน ความสูงต่ำของพื้นที่
2. ทำให้รู้ขนาดจริงของแต่ละพื้นที่
3. ทำให้แยกได้ว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นภูเขา ที่ราบ หรือแม่น้ำ
4. การดูแผนที่ทำให้ง่ายต่อการวางแผนในการทำกิจกรรมต่างๆ

--------------------------------------------

***การเลือกทำเลที่ตั้งโรงโม่หิน

การ เลือกทำเลที่ตั้งเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารหรือ ผู้ประกอบการ เพราะการค้นหาว่าจะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอยู่ที่ใดที่หนึ่ง จะมีผลโดยตรงต่อค่าใช้จ่ายทั้งที่เป็นต้นทุนคงที่ และตันทุนแปรผัน ซึ่งผลกำไรจากบริษัทจะได้รับผลกระทบทันทีหากตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมไม่เหมาะสม แต่เมื่อมีความจำเป็นจะต้องเลือกสถานที่ตั้งโรงงานใหม่ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการก็จะต้องตัดสินใจวางแผนเลือกที่ตั้งโรงงาน อุตสาหกรรมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการดำเนินการ

***ทำเลที่ตั้งโรงโม่หิน

ทำเล ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม (Plant Location) หมายถึง สถานที่ที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางธุรกิจขององค์การ เช่น โรงงาน โกดังสินค้า สำนักงานใหญ่ หรือสาขา เป็นต้น ที่ตั้งโรงงานจะมีความสำคัญต่อการผลิตและการดำเนินการ การเลือกที่ตั้งจึงเป็นกระบวนการในการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อกำหนดสถานที่ที่ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้สะดวก และมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยพิจารณา ต้นทุน รายได้ ความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคลากร ลูกค้า ตลาด และวัตถุดิบ ตลอดจนสภาพแวดล้อมในการดำเนินงาน

1. การลงทุน (Investment) ปกติการลงทุนในสถานที่ อาคาร เครื่องจักร และ อุปกรณ์ จะต้องใช้เงินลงทุนสูงและเคลื่อนย้ายยาก
2. ต้นทุนการบริหาร (Management Cost) การตัดสินใจเลือกที่ตั้งมีผลกระทบต่อการจัดการทางการเงินและต้นทุนการดำเนินงาน
3. การขยายกิจการ (Growth) การขยายตัวในอนาคตขององค์การทั้งด้านการดำเนินงานหรือตลาด ซึ่งผู้บริหารจะต้องพิจารณาข้อเปรียบเทียบของแต่ละทางเลือก
4. ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) เป็นประเด็นสำคัญในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งจะมีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจ

***ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งโรงงาน

ปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานมีอยู่มากมาย อย่างไรก็ตามมักปรากฏอยู่เสมอว่า มีเพียงปัจจัยไม่กี่อย่างที่มีผลสำคัญต่อการตัดสินใจ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของโรงงานผลิตสินค้า ปัจจัยที่มีผลอย่างสำคัญต่อการเลือกที่ตั้งประกอบด้วย ความพร้อมทางด้านพลังงาน เส้นทางการขนส่ง และแหล่งวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น โรงงานอุตสาหกรรมเหล็กกล้าต้องอยู่ใกล้แหล่งพลังงานคือไฟฟ้า โรงงานปูนซีเมนต์ต้องอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ เป็นต้น นอกจากนี้เส้นทางการขนส่งทั้งทางน้ำ บก และอากาศ ก็จะมีผลอย่างสำคัญต่อต้นทุนการผลิตและจำหน่าย
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกที่ตั้งของโรงงาน อาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต และปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต ปัจจัยที่เกี่ยวกับทรัพยากรการผลิต ประกอบด้วย
วัตถุดิบ ตลาดสินค้า แรงงาน ที่ดิน การขนส่ง แหล่งพลังงาน และสาธารณูปโภคต่าง ๆ

วัตถุดิบ (Material) การตัดสินใจเลือกที่ตั้งโรงงานที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมีเหตุผลหลัก คือเพื่อลดต้นทุนการผลิตอันเกิดจากการขนส่งวัตถุดิบ อุตสาหกรรมที่เลือกที่ตั้งโรงงานใกล้แหล่งวัตถุดิบ มักได้แก่อุตสาหกรรมทางการเกษตร และอุตสาหกรรมที่ต้องแร่ธาตุเป็นวัตถุดิบ ตัวอย่างเช่น โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงสังกะสี โรงงานสับปะรดกระป๋อง และโรงงานปลากระป๋อง เป็นต้น ทั้งนี้เพราะวัตถุดิบมีขนาดใหญ่น้ำหนักมากการขนส่งต้องเสียค่าใช้จายสูง และวัตถุดิบบางประเภทเกิดการเน่าเสียได้ง่าย จึงต้องรีบส่งเข้าโรงงานอย่างรวดเร็ว
ตลาด (Market) โรงงานหรือการดำเนินการในลักษณะที่ใช้วัตถุดิบน้อย มักนิยมตั้งใกล้ตลาดสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจการด้านการบริการ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้โรงงานอุตสาหกรรมบางประเภทต้องตั้งใกล้ตลาดสินค้า ทั้งนี้เพราะสินค้าที่ผลิตเกิดการเน่าเสียได้ง่าย ตัวอย่างเช่น โรงงานทำขนมปัง โรงงานไฮศครีมและนมสด เป็นต้น
ในการพิจารณาเลือกที่ตั้ง โรงงานอุตสาหกรรมว่าควรอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ หรืออยู่ใกล้ตลาด ซึ่ง สมศักดิ์ ตรีสัตย์ (2537 : 41 – 46) ได้เสนอเอาไว้ ดังนี้

1. เมื่อวัตถุดิบผ่านกรรมวิธีการผลิตในโรงงานแล้ว น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก หรือน้ำหนักไม่เปลี่ยนแปลงเลย ลักษณะเช่นนี้โรงงานควรจะอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมากกว่าตลาด เช่น โรงงานโม่หิน โรงงานปูนซีเมนต์ โรงงานถลุงแร่ เป็นต้น
2. เมื่อวัตถุดิบผ่านกรรมวิธีการผลิตแล้ว น้ำหนักเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อผ่านกรรมวิธีการผลิต และสำเร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูปออก กรณีโรงงานควรจะอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบเหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งวัตถุดิบ เช่น โรงงานน้ำตาล ควรตั้งอยู่ใกล้ไร่อ้อย โรงงานทำสับปะรดกระป๋องควรตั้งอยู่ใกล้ไร่สับปะรด

3. เมื่อวัตถุดิบมีอยู่ทั่วไป กรณีเช่นนี้ โรงงานควรจะอยู่ใกล้ตลาด ทั้งนี้ เพราะว่าผลผลิตที่ออกจากโรงงานจะได้ส่งเข้าจำหน่ายในตลาดทันที เมื่อโรงงานอยู่ใกล้ตลาดบางครั้งลูกค้าจะเข้ามาซื้อสินค้าได้โดยตรงในโรงงาน ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งลงไปอีก
4. เมื่อวัตถุดิบเป็นของที่เน่าเสียหายง่าย เช่น กุ้ง ปลา ผลไม้ และผักต่าง ๆ อันเป็นวัตถุดิบของโรงงานทำอาหารกระป๋อง หรือผลไม้กระป๋อง โรงงานเช่นนี้ควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ และวัตถุดิบก็ควรจะมากพอด้วย เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีคุณภาพและลดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาวัตถุดิบ เสี่ยงต่อความเสียน้อย หากตั้งโรงงานไกลก็จะต้องมีการขนส่งอย่างรวดเร็วและต้องลงทุนในการเก็บรักษา วัตถุดิบเพิ่ม ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ราคาสินค้าสำเร็จรูปสูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม พอพันธ์ วัชรจิตพันธ์ (2521 : 102 – 103) ได้สรุปเอาไว้ 5 ประการ ดังนี้

1. อำนวยความสะดวกให้ในด้านที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่เหมาะแก่ผู้ลงทุนอย่าง พร้อมเพรียงได้แก่ การจัดบริการสาธารณูปโภค เช่น ถนน น้ำประปา ไฟฟ้า การกำจัดของเสีย การติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง ตัวอาคาร เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายต่ำซึ่งสามารถจัดทำได้
2. ส่งเสริมให้อุตสาหกรรม สามารถพึ่งพาและสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ เช่น ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าจากโรงงานหนึ่งอาจใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงงานหนึ่ง ลักษณะ เช่นนี้ย่อมสะดวกและประหยัด เพราะสามารถติดต่อกันโดยตรง ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง และช่วยลดค่าขนส่งได้อีกด้วย ฉะนั้นผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนการผลิตลงได้ และ
สามารถดำเนินงานได้สะดวกรวดเร็วขึ้น
3. การย้ายโรงงานอุตสาหกรรมจากแหล่งชุมชน เพื่อแก้ไขความแออัดในตัวเมือง และสภาพเสื่อมโทรม ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ นอกจากนี้ยังช่วยลดจำนวนการอพยพของชาวชนบทที่จะเข้ามาทำงานในกรุงเทพฯ
4. การกระจายความเจริญไปสู่ส่วนภูมิภาค เพราะอุตสาหกรรมย่อมเป็นตัวนำซึ่งความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น และเป็นการเพิ่มอาชีพ ตลอดจนรายได้ของประชาชนในท้องถิ่น
5. จัดวางผังเมือง แยกเขตที่อยู่อาศัย ย่านการค้า ย่านอุตสาหกรรม ให้เป็นสัดส่วน และเผื่อขยายตัวของเมืองในอนาคตให้เป็นไปโดยถูกต้องตามเกณฑ์การวางผังเมือง และพยายามใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการเกษตร ให้เป็นประโยชน์ต่อการอุตสาหกรรม

การขนส่ง (Transportation) การขนส่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่จะส่งผลต่อการกำหนดค่าใช้จ่ายในการ ลงทุน และค่าใช้จ่ายในการขนส่งก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าสูงหรือต่ำลงได้ จึงนับได้ว่าการขนส่งถือว่าเป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาระมัดระวังรอบคอบ มีเหตุผล ทั้งนี้เพราะว่าปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ คน เครื่องจักร อุปกรณ์และสิ่วที่สนับสนุนการผลิตต่าง ๆ ที่จะนำไปสู่โรงงานล้วนแต่อาศัยการขนส่งทั้งสิ้น หลังจากนั้น เมื่อโรงงานทำการแปรรูปวัตถุดิบเป็นผลิตภัณฑ์ (Products) แล้วก็ต้องขนส่งสู่ตลาดอีก ปัญหาที่ต้องพิจารณาเรื่องการขนส่งก็คือ ช่วงระหว่างวัตถุดิบกับโรงงาน และช่วงระหว่างโรงงานกับตลาด หรือแหล่งจำหน่าย ช่วงดังกล่าวสามารถขนส่งได้กี่วิธี ขนส่งอย่างไรจึงจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุด

นอกจากนี้ในเรื่องของการขนส่ง ผู้บริหารอุตสาหกรรมควรจะพิจารณาถึงหลักดังต่อไปนี้ (เสริมศักดิ์ ตรีสัตย์, 2537 : 46)
1. ทางเลือกของการขนส่ง (Alternative of transport)
2. ระยะทาง (Distance)
3. เวลา (Time)
4. ลักษณะและสภาพของเส้นทาง (Status of route)
5. ปัญหาจราจร (Traffic proldem)
6. แนวโน้มในอนาคต (Trend of future)
7. ลักษณะภูมิประเทศ (Nature of the country)
8. ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง (Cost of transport)
9. อื่น ๆ (others)

พลังงาน (Energy) ธรรมชาติของอุตสาหกรรมแต่ละรูปแบบอาจมีความต้องการแหล่งต้นกำลัง และเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันไป ส่วนใหญ่แล้วมักจะต้องการแหล่งต้นกำลังจากกระแสไฟฟ้า โดยใช้บริการกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมากกว่า ที่จะผลิตกระแสไฟฟ้ามาใช้เอง ทั้งนี้เพราะต้นทุนการผลิตต่ำกว่า แต่บางครั้งโรงงานอาจมีเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองไว้เผื่อในกรณีกระแสไฟฟ้า ดับกระทันหันหรือในยามฉุกเฉินอันมีผลกระทบกระเทือนต่อระบบการผลิต โดยเฉพาะโรงงานที่ติดตั้งระบบการผลิตแบบต่อเนื่อง(Continuous Products System) นั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย อย่างไรก็ตามยังมีอุตสาหกรรมอีหลายประเภทต้องอาศัยเชื้อเพลิงต่าง ๆ เป็นแหล่งต้นกำลังในการผลิตที่แตกต่างกัน เช่น น้ำมัน เครื่องยนต์ แก๊ส เป็นต้น

สาธารณูปโภค (Public service) โรงงานอุตสาหกรรมทุกโรง จำเป็นต้องใช้น้ำ ไฟฟ้า ระบบน้ำบัดน้ำเสีย อุตสาหกรรมหลายชนิดมีมลภาวะ (Pollution) ซึ่งเป็นภัยต่อชีวิตและธรรมชาติ เช่น สารเคมี น้ำมัน ซึ่งถ้าปล่อยลงแม่น้ำ ก็จะทำให้น้ำในแม่น้ำเน่าเสีย (Water Pollution) ควันไฟ ก๊าซบางอย่างทำให้อากาศเป็นพิษ (Air Pollution) โรงงานจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ในการพยายามกำจัดสิ่งเป็นพิษเหล่านี้ ไม่ให้เกิดมลภาวะขึ้นมาได้

ปัจจัย ด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม หมายถึง ปัจจัยที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของชุมชนที่โรงงานไปตั้งอยู่ ปัจจัยเหล่านี้อาจไม่มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิต หรือการดำเนินการแต่จะมีผลทางอ้อมต่อการดำเนินการ เช่น มีผลต่อการทำงานของคนงาน การควบคุมการทำงานของคนงาน และอื่น ๆ ปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1. สภาพการยอมรับของชุมชนที่มีต่อธุรกิจที่ทำอยู่ ถ้าโรงงานหรือการดำเนินการได้ผลิตสินค้าหรือบริการที่ขัดต่อความเชื่อขอ
งคน ในชุมชน หรือขัดต่อหลักธรรมคำสั่งสอนทางศาสนาในชุมชน ย่อมไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน
2. สภาพความเป็นอยู่ของชุมชน คุณภาพของชีวิตในชุมชน เช่น แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ โรงมหรสพ สภาพภูมิอากาศ โรงเรียน โรงพยาบาล สถานปฏิบัติกิจทางศาสนา มาตรฐานค่าครองชีพ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เป็นต้น
3. กฎระเบียบและกฎหมายของชุมชน เช่น ภาษีต่าง ๆ อันได้แก่ ภาษีการค้า ภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย ฯลฯ กฎหมายแรงงาน กฎหมายการจ้างงาน และอื่น ๆ
4. สภาพความร
วมตัวทางธุรกิจและอุตสาหกรรมในชุมชน ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในธุรกิจ สภาพการแข่งขันทางธุรกิจ แหล่งที่มีการรวมตัวร่วมมือช่วยเหลือกันทางธุรกิจมาก ย่อมส่งเสริมต่อการดำเนินการผลิตและบริการ

-----------------------------------------------